|
วัฏจักรชีวิตปลวก |
|
ปลวกทหาร ต่อสู้ ป้องกัน พลเมืองปลวก จากมด |
|
ปลวก ทำงาน ทำงานหาอาหาร กินไม้ กินประตู วงกบ |
|
ราชินีปลวก วางไข่ |
ราชินีปลวก และการวางไข่ วางไข่ วันละหลายหมื่น ฟอง โอ้..... บร่ะเจ้า
|
แมลงเม่า |
|
แมลงเม่า |
|
ความเสียหายจากปลวก ปลวกกินวงกบหน้าต่าง |
|
ปลวกกินคานบ้าน |
|
รังปลวก เส้นทางเดินของกองทัพปลวก |
วัฏจักรชีวิตปลวก
ปลวกเมื่อโตเต็มวัยจะมีปีกหรือที่เรารู้จักกันว่า "แมลงเม่า” พบแมลงเม่ามากในช่วงต้นของฤดูฝน หรือระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายนและช่วงที่มีฝนตกผิดฤดูและมีปริมาณความชื้นสูง จึงเป็นระยะที่เหมาะกับการผสมพันธุ์ของแมลงเม่าและพบเห็นบ่อย
แมลงเม่าทั้งตัวผู้และตัวเมีย เมื่อบินออกจากรังจะจับคู่กันแล้วจะสลัดปีกทิ้ง จากนั้นจะพากันไปหาสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นรังใหม่ของมันต่อไปนั่น คือบริเวณที่มีความชื้นสูงและมีแหล่งของอาหารคือไม้อย่างพอเพียง ขั้นตอนการผสมพันธุ์เริ่มจากปลวกเพศเมีย ซึ่งกลายเป็นราชินีปลวกจะปล่อยกลิ่นฟีโรโมน ทำให้ปลวกตัวผู้(ปลวกราชา)ไปหาและผสมพันธุ์กัน เมื่อสร้างรังเสร็จตัวราชินีปลวกจะเริ่มวางไข่ภายในเวลา 1 เดือน การวางไข่ของราชินีปลวกครั้งแรกจะมีจำนวนน้อยประมาณ 10 ฟองหรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนปลวกออกมาภายในเวลาหลายสัปดาห์
วัฏจักรชีวิตปลวก รุ่น แรกจะเป็นปลวกงานและปลวกทหาร ในระยะแรกตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากปลวกราชินีโดยการกินมูลและอาหาร ซึ่งทำให้ปลวกได้รับโปรโตซัวและแบคทีเรีย ต่อมาส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ขึ้นและจะเริ่มวางไข่อีกและจะเคลื่อน ไหวไปไหนมาไหนไม่ได้ ในครั้งนี้จะเป็นการผลิตปลวกงานและปลวกทหารให้เพิ่มขึ้น ในระยะ 3-4 ปีต่อมาราชินีจึงวางไข่เพื่อผลิตวรรณะสืบพันธุ์ชุดแรก สำหรับตัวราชาปลวกจะมีรูปร่างขยายขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก จะคอยอยู่ใกล้ๆ กับตัวนางพญาปลวกเพื่อทำการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว
ลักษณะไข่ปลวกมีรูปร่างเรียวยาวหรือค่อนข้างกลม สีขาวนวลมักวางเป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มคล้ายไข่แมลงสาบ เมื่อฟักออกเป็นตัวจะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่จะมีขนาดเล็กกว่า ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยที่ไม่มีปีกและเป็นหมัน คือปลวกงานและปลวกทหาร ส่วนตัวอ่อนที่ลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัยมีปีกหรือแมลงเม่าจะกลายเป็นวรรณะ สืบพันธุ์ ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9-10 เดือน ส่วนวรรณะทหารและกรรมกรใช้เวลา 4-6 เดือน
วงจรชีวิตปลวกนางพญาและปลวกราชาจะมีอายุยืนยาวถึง 25-50 ปี
เริ่มต้นขึ้นเมื่อฤดูการเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตกปีละประมาณ 2 -3 ครั้งโดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (Alate or winged reproductive male of female ) บินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำประมาณ 18.30-19.30 น. เพื่อมาเล่นไฟจับคู่ผสมพันธุ์กันจากนั้นจึงสลัดปีกทิ้งไป แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2-31 วันจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆและจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฝักออกมาเป็นตัวอ่อน (Larva ) และจะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฝักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และเป็นหมันสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักของ ราชินี เพื่อให้ตัวอ่อนเกิดจะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆเช่น ปลวกงาน (Worker ) ปลวกทหาร (Soldier ) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้น ไม่สมบูรณ์ ซึ้งอยู่ในช่วงระยะเจริญพันธุ์ (Nymphs ) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and king ) ซึ่งทำหน้าที่ผสมพันธุ์และอกไข่ เพิ่มจำนวนประชากร ในกรณีที่ราชา (King ) หรือราชินี (Queen ) ของรังถูกทำลายไป
.